เปิดเทคนิค Work From Home ทำงานที่บ้านยังไงให้ประหยัดไฟ?

  • เปิดเทคนิค Work From Home ทำงานที่บ้านยังไงให้ประหยัดไฟ? เปิดเทคนิค Work From Home ทำงานที่บ้านยังไงให้ประหยัดไฟ?
    เพื่อเลี่ยงระบาดโควิด-19 ทำให้หลายๆ คนต้อง Work From Home และเจอปัญหา ค่าไฟแพง ชนิดพุ่งทะยาน! เพราะเป็นช่วง หน้าร้อน แต่เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในบ้านง่ายๆ ไม่กี่ข้อก็สามารถประหยัดไฟได้เช่นกัน
     
    ช่วงโควิดระบาดระลอกใหม่ที่ส่งผลให้หน่วยงานส่วนใหญ่ให้พนักงาน Work From Home ทำงานที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถ้าเป็นเดือนอื่นยังพอว่า แต่เวลานี้ถือเป็นหน้าร้อนอย่างเป็นทางการของประเทศไทย อากาศร้อนแบบนี้ วิธีคลายร้อนไม่พ้นการเปิดแอร์ให้บ้านเย็นฉ่ำ ส่งผลให้บางบ้านเปิดแอร์ดับร้อนตลอดเวลา และพฤติกรรมดับร้อนเหล่านี้อาจจะทำให้หลายๆ คนกังวลใจเรื่องค่าไฟที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น 
     
    กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ แนะนำเทคนิคการ Work From Home อย่างไรไม่ให้เปลืองไฟ พร้อมการปรับพฤติกรรมที่จะทำให้การทำงานอยู่บ้านหน้าร้อนมีความสุขมากขึ้น
     
    1. แสงธรรมชาติ กับมุมทำงาน 
    สำหรับการทำงานบางท่านต้องที่อยู่หน้าจอ อาจจะต้องการแสงสว่างที่เพียงพอ ดังนั้นแล้ว จากวิธีที่เปิดไฟ เปลี่ยนมาเป็นวิธีการปิดม่านและเปิดหน้าต่างให้แสงสว่างและลมธรรมชาติผ่านเข้ามาในบ้าน ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการประหยัดพลังงานในช่วงที่มี การ Work from home ที่สำคัญการเปิดให้อากาศถ่ายเทยังจะช่วยลดความเสี่ยงของ COVID-19 ได้อีกด้วย
    ถ้าหากอยู่คอนโดหรือบ้านที่ไม่สามารถใช้แสงจากธรรมชาติได้  อาจใช้โคมไฟหลอด LED  แทนการเปิดไฟเพดาน  และตั้งเวลาใช้ไฟให้เหมือนที่ทำงาน เช่นเปิดเวลา  9.00 – 12.00 น.  ปิดไฟตอนพักกลางวัน และเปิดใช้ไฟอีกครั้งเวลา  13.00- 17.00 น.    
     
    2. เปิดแอร์ และพัดลมประหยัดไฟกว่า 
    หน้าร้อนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 35 องศา ดังนั้นแล้วการแนะนำให้ปิดแอร์แล้วเปิดพัดลมอาจจะไม่เพียงพอสำหรับบางบ้าน แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นการเปิดแอร์ และเปิดพัดลมไปด้วย โดยมีสูตรคือ แนะนำให้เปิดแอร์ที่อุณหภูมิประมาณ 27–30 องศา พร้อมกับเปิดพัดลมเป่าเข้าหาตัวเรา การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25-27 องศาเซลเซียส ไม่ควรตั้งอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส การตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นทำให้ประหยัดค่าไฟ การตั้งอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาทำให้ประหยัดได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
     
    3. การเลือกใช้หลอดไฟ 
    ในกรณีที่ต้องเปิดไฟเพดานควรเลือกใช้หลอด LED เพราะประหยัดไฟกว่าหลอดธรรมดาทั่วไป แม้ว่าหลอด LED จะมีราคาแพงกว่าหลอดไฟธรรมดาแต่ในระยะยาวเรื่องการประหยัดไฟถือว่าคุ้มกว่ามาก ที่สำคัญหากเปลี่ยนมาใช้หลอด LED จะสามารถให้ความสว่างได้มากกว่าหลอดไฟธรรมดา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
     
    4. เครื่อง Notebook ตั้งเป็น Sleep Mode เมื่อไม่ได้ใช้งาน  
    รวมทั้งปรับแสงจอไม่ให้สว่างจนเกินไป รวมทั้งควรตั้งค่าประหยัดพลังงานเพื่อช่วยประหยัดแบตเตอรี่ในกรณีที่มีการเปิด Notebook  ทิ้งไว้
     
    5. ปิด Gadget ไร้สายเมื่อไม่มีการเชื่อมต่อ
    บางคนใช้  iPad ทำงานสลับกับ Notebook หรือใช้หูฟังไร้สายเวลาประชุมออนไลน์ เมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ปิดทันที เพราะอุปกรณ์ไร้สายที่ไม่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์จะยังคงทำงานอยู่และใช้กระแสไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยงระบบ รวมถึงไม่เสียบปลั๊ก  Notebook  ทิ้งไว้ในกรณีที่แบตเตอรี่เต็มแล้ว เพื่อลดการใช้กระแสไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง
     
    6. ถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง
    หลายคนอาจคิดว่าแค่ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานก็เพียงพอแล้ว แต่ความเป็นจริง แม้ว่าเราจะปิดสวิตช์หลังใช้งานไปแล้ว แต่ก็ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนเพื่อให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นเราควรปิดสวิตช์และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน นอกจากจะประหยัดไฟแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในบ้านได้อีกด้วย
     
    7.เลี่ยงการใช้ความร้อนขณะเปิดแอร์
    ควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เช่น กระติกน้ำร้อน เตารีด เตาปิ้งย่างไฟฟ้า ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความร้อนในห้องเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น และในทางตรงกันข้าม ถ้าเครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น อุณภูมิในห้องเย็นขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความร้อน ก็จะต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการสร้างความร้อนเช่นกัน คือมีแต่เปลืองไฟ และเปลืองไฟไปอีกเป็นเท่าตัว
     
    8.ทำความสะอาดและจัดระเบียบตู้เย็น 
    ตู้เย็นที่สกปรกและมีของอยู่มากจนเกินไปจะทำให้ตู้เย็นกินไฟมากขึ้น เพราะของที่มากเกินไปจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลง และยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคอีกด้วย และที่สำคัญควรตรวจสอบรอยรั่วที่ขอบยางของตู้เย็น หากรั่วให้รีบเปลี่ยนทันที เพราะความเย็นที่รั่วไหลออกมาจะทำให้เครื่องต้องทำความเย็นเพิ่มขึ้นตลอดเวลา มอเตอร์ทำงานหนักและกินไฟ
     
    9.ดูโทรทัศน์แบบประหยัดไฟ 
    วิธีการคืออย่าเปิดปิดด้วยรีโมท และควรถอดปลั๊กทุกครั้ง หากดูโทรทัศน์วันละ 4 ชม. จะเสียค่าไฟ 40.50 บาท/เดือน หากไม่เปิดปิดด้วยรีโมท และถอดปลั๊ก จะประหยัดได้ 4 บาท/เดือน
     
    10. ใส่หูฟังเมื่อฟังเพลง
    การฟังเพลงก็มีผลกระทบต่อการประหยัดพลังงานเช่นเดียวกัน เนื่องจากการใช้หูฟังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าไม่ใช้ อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีควรเลือกใช้เป็นหูฟังแบบมีสาย เพราะเมื่อเทียบกับหูฟังแบบไร้สายแล้ว จะใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า แถมยังมีคุณภาพเสียงดีกว่าอีกด้วย
     
    ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
     
    อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/935102
    • Admin
    • พฤหัสที่ 20 พฤษภาคม 2564
    • 1 Views